bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา (วันศุกร์ที่ ๖ ม.ค.๖๖) ขอนำเสนอข้อมูลจากสื่อของจีนเกี่ยวกับบทสัมภาษณ์ นายจ้าว เฉินซิน รองผู้อำนวยการคณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน โดยกล่าวว่า

     จีนศึกษา (วันศุกร์ที่ ๖ ม.ค.๖๖) ขอนำเสนอข้อมูลจากสื่อของจีนเกี่ยวกับบทสัมภาษณ์ นายจ้าว เฉินซิน รองผู้อำนวยการคณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน โดยกล่าวว่า

     ในปี ๒๐๒๒ (พ.ศ.๒๕๖๕) ได้เผชิญกับปัญหาใหญ่กว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมภายในประเทศและภายนอกประเทศมีความสลับซับซ้อนที่รุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หลังจากการทำงานหนัก เศรษฐกิจค่อย ๆ มีเสถียรภาพและดีขึ้นท่ามกลางความผันผวนประจำปีทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างมั่นคง โดยผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ (GDP) คาดว่าจะเกิน ๑๒๐ ล้านล้านหยวน เมื่อพิจารณาดัชนีต่างๆ อาทิ การเติบโตทางเศรษฐกิจ การมีงานทำของพลเมืองและราคาสินค้า เป็นต้น เศรษฐกิจของจีนมีความโดดเด่นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักของโลก
ช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา จีนได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย อาทิ สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น การลุกลามของโรคระบาด เศรษฐกิจตกต่ำลง เป็นต้น อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจเกินกว่า ๕% เฉลี่ยต่อปี เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจโลก ถ้าดูระยะ ๑๐ ปีที่ผ่านมา การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนประสบผลสำเร็จเชิงประวัติศาสตร์ มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงเชิงประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจพัฒนาสู่ทิศทางที่มีคุณภาพสูง โดยเฉพาะได้แก้ไขปัญหาความยากจนอย่างแท้จริงได้รับการแก้ไข และได้สร้างสังคมพอกินพอใช้อย่างรอบด้าน ซึ่งถือว่าได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดใน ๑๐๐ ปีแรกของจีน

     ทั้งนี้ รากฐานของการฟื้นฟูเศรษฐกิจยังไม่มั่นคง โดยเฉพาะโรคระบาดยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการอย่างมั่นคงของเศรษฐกิจ ด้วยแรงกดดันสามประการจากอุปสงค์ที่หดตัว อุปทานที่ตกต่ำ และความคาดหวังที่อ่อนกำลังลง ปัญหาเหล่านี้เป็นความยากลำบากและความท้าทายต่อกระบวนการการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน เพื่อให้มีความยืดหยุ่นรวมทั้งมีศักยภาพและมีพลังเพียงพอ อันเป็นปัจจัยพื้นฐานเชิงบวกในระยะยาวที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง

     นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี ๒๐๒๒ (พ.ศ.๒๕๖๕) เป็นต้นมา จีนได้รับมือกับผลกระทบต่างๆ อย่างมีประสิทธิผล คุณภาพการพัฒนายกระดับสูงขึ้น การสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีประสบผลสำเร็จอย่างมาก การปฏิรูปและการเปิดประเทศสู่ภายนอกได้รับการปรับปรุงอย่างลงลึกและอย่างรอบด้าน ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงด้านพลังงาน และชีวิตของผู้คนได้รับการประกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมสำหรับการพัฒนาในปี ๒๐๒๓ (พ.ศ.๒๕๖๖) และยังเป็นแหล่งความเชื่อมั่นที่ไม่สิ้นสุดต่อการพัฒนาในอนาคต

ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.xhby.net/index/202301/t20230101_7792640.shtml )