bg-head-3

เอกสารแนะนำการเตรียมตัวสำหรับผู้ที่ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียว ฯ ผ่าน สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน

เอกสารแนะนำการเตรียมตัวสำหรับผู้ที่ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียว ฯ ผ่าน สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน

เอกสารแนะนำการเตรียมตัวสำหรับผู้ที่ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียว ฯ ผ่าน สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลทั่วไป
     

     ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC) มีพื้นที่ประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก

เขตการปกครองในประเทศจีน

 

     แบ่งเป็น 22 มณฑล 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร และ 2 เขตบริหารพิเศษ
22 มณฑล ประกอบด้วย
กว่าง ตง (กวางตุ้ง) • กานสู้ (กานซู) • กุ้ยโจว • จี๋หลิน • เจ้อเจียง • เจียงซี • เจียงซู • ส่านซี • ซานซี • ซานตง • ชิงไห่ • ซื่อชวน (เสฉวน) • ฝูเจี้ยน • หยุนหนาน (ยูนนาน) • หูเป่ย์ • หูหนาน • เหลียวหนิง • เหอเป่ย์ • เหอหนาน • ไห่หนาน (ไหหลำ) • อานฮุย (อันฮุย) • เฮย์หลงเจียง
5 เขตปกครองตนเอง ประกอบด้วย
กว่างซีจ้วง (กวางสี) • ซินเจียงอุยกูร์ • ทิเบต (ซีจ้าง) • มองโกเลียใน • หนิงเซี่ยหุย
4 เทศบาลนคร ประกอบด้วย
ฉงชิ่ง (จุงกิง) • ช่างไห่ (เซี่ยงไฮ้) • เป่ย์จิง (ปักกิ่ง) • เทียนจิน (เทียนสิน)
2 เขตบริหารพิเศษ ประกอบด้วย
มาเก๊า • ฮ่องกง

มณฑลฝูเจี๋ยน

 

     มณฑลฝูเจี้ยน หรือ มณฑลฮกเกี้ยน (จีน: Fujian) เป็นมณฑลชายฝั่งทะเลที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน อาณาเขตทางภาคเหนือติดกับมณฑลเจ้อเจียง ภาคใต้ติดกับมณฑลกวางตุ้ง ภาคตะวันออกติดกับช่องแคบไต้หวัน

เมืองเซียะเหมิน

 

     เซียะเหมิน (จีน; อังกฤษ) เป็นเมืองในมณฑลฝูเจี้ยน ห่างจากเกาะไต้หวันประมาณ 1 กิโลเมตร มีสัญลักษณ์เป็นนกกระยางขาว เป็นเมืองท่าสำคัญ และเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ได้กลายมาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ภาษาท้องถิ่น คือ ภาษา หมิ่นหนานฮั้ว (ภาษาจีนฮกเกี้ยน)
     สภาพอากาศ แบ่งเป็น 4 ฤดู ช่วงหน้าร้อนก็จะร้อนเหมือนเมืองไทยตั้งแต่ มิ.ย. - ต้นเดือน ต.ค. หลังจากนั้นจะเข้าช่วงหนาวจะเริ่มตั้งแต่ปลาย ต.ค. - ปลายเดือน เม.ย. อุณหภูมิต่ำสุดในปี 2009 และ 2010 คือ 7 และ 5 องศาเซลเซียส(เดือน ธ.ค. - ม.ค.) สูงสุด คือ 39 องศาเซลเซียส (เดือน ก.ค. - ส.ค๗
     อาหาร หนักไปทาง มันๆ มาใหม่ๆ ถ้าหากไม่ชินแนะนำมาให้พกพวกเครื่องปรุง เช่น น้ำพริก น้ำปลา ซีอิ๋ว (ซีอิ๋วเมืองจีนไม่เหมือนบ้านเราครับ) น้ำจิ้มสุกี้ ฯลฯ ที่เป็นขวดเล็กๆ เพราะขนง่ายน้ำหนักไม่มาก หรือจะเป็นพวกอาหารกึ่งสำเร็จรูปทั้งหลาย เช่น มาม่า (หรือยี่ห้ออื่นๆ) หมูหยอง หมูแผ่น ฯลฯ

 

ข้อมูลมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวมีที่ตั้ง 2 ที่คือ
1.มหาวิทยาลัยหัวเฉียวฉวนโจวซึ่งตั้งอยุ่ที่เมืองฉวนโจวห่างจากเซียะเหมินประมาณ 80 กม.นั่งรถบัสประมาณ 1 ชม. 30 นาที นั่งรถไฟความเร็วสูง 21 นาที
2.มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเซียะเหมินตั้งอยู่ใน เขตจิเหม่ย เมืองเซียะเหมิน มณฑลฝู๋เจี้ยน (หรือภาษาแต้จิ้วใช้คำว่า "ฮกเกี้ยน") สาธารณรัฐประชาชนจีน
สำหรับนักเรียนทุนข้าราชการไทยจะเรียนที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเซียะเหมิน วิทยาเขตหัวเหวิน สำหรับสถานที่ตั้งของวิทยาเขตหัวเหวินได้แยกออกมาโดยอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยใหญ่ประมาณ 9 กม.เป็นวิทยาเขตที่จัดการเรียนการสอนด้านภาษาสำหรับนักเรียนต่างชาติโดยเฉพาะ
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเซียะเหมิน วิทยาเขตหัวเหวินในสถานศึกษามีอาคาร สนง., ห้องเรียน.,ห้องสมุด, หอพัก ,โรงอาหาร,ร้านสะดวกซื้อและที่ออกกำลังกายทั้งหมดรวม 20 อาคาร บริเวณโดยรอบของวิทยาเขตจะเป็นชุมชนมี ตลาดสด ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าและร้านอาหาร มากมายหลากหลาย หากต้องการเข้าไปเยี่ยมชมภายในตัวเมืองเซียะเหมินก็สามารถโดยสารรถประจำทางซึ่งมีอยู่หลากหลายเส้นทาง

 

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเซียะเหมิน วิทยาเขตหัวเหวิน มีสาขาวิชาที่เปิดสอนดังนี้

1.สาขาภาษาจีนสำหรับสอนคนต่างประเทศ
เป็นสาขาวิชาสำหรับคนจีนเท่านั้น เป็นสาขาที่สอนทักษะภาษาจีนเพื่อนำไปสอนคนต่างชาติ คณะนี้ถ้าเปรียบเทียบประเทศไทย คือ คณะศึกษาศาสตร์ เอกภาษาจีน นั่นเอง ซึ่งเมื่อจบแล้วงานที่ตรงกับสาขาคือการเป็นครูสอนภาษาจีนให้กับคนต่างชาติ(ปัจจุบันคณะนี้ย้ายไปอยู่ที่มหาวิทยาลัยใหญ่แล้ว แต่ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาเขตหัวเหวิน ดังนั้นจึงจะมีการติดต่อและทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างนักเรียนในสาขานี้กับ นร.ต่างชาติอย่างต่อเนื่อง)

2.สาขาภาษาจีนสำหรับนักเรียนต่างชาติ
เป็น สาขาของคนต่างชาติโดยเฉพาะ จะสอนทักษะภาษาจีนรวมถึงวัฒนธรรม และความรู้ด้านต่างๆ เกี่ยวกับประเทศจีน โดยมีทั้งหมด 4 ชั้นปี มีการแบ่งระดับเป็น
1.ภาษาจีนระดับพื้นฐาน(1ปี ประกาศนียบัตร)
2.ภาษาจีนระดับกลาง(2ปี อนุปริญญา)
3.และภาษาจีนระดับสูง(4 ปี ปริญญาตรี)
สำหรับ คณะ ขรก. จะได้เข้ามาเรียนกับ สาขานี้ หรือเป็นนักศึกษาคนหนึ่งในสาขานี้
โดยสำหรับผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐาน ทางด้านภาษาจีน หรือมีเพียงเล็กน้อย จะให้เริ่มเรียนตั้งแต่ ปี 1 เทอม 1 ส่วนผู้ที่มีพื้นฐาน หรือได้ศึกษาภาษาจีนมาแล้ว ก่อนลงทะเบียนจะมีการให้ทำแบบทดสอบเพื่อประเมินระดับภาษาว่าสามารถเข้าเรียนในระดับไหน

3.ม.ปลายสำหรับเด็กต่างชาติ
เป็น ม.ปลายสำหรับคนต่างชาติ ที่จบการศึกษาระดับ ม 3 (เกรด 9) เข้ามารับการศึกษาต่อ ทั้งนี้ ก่อนจะเข้ารับการศึกษานี้จะมีการวัดระดับภาษาก่อน หากไม่ผ่านเกณฑ์จะต้องไปเรียนที่สาขาที่อยู่ในข้อ 2 เพื่อปรับระดับภาษา และเมื่อเข้าเรียน สาขานี้แล้ว จะใช้เวลาในการเรียน 2 ปี สามารถกลับไป ต่อระดับ ปี 3 เทอม 1 ในสาขา ข้อ 2 ได้ทันที (สำหรับสาขานี้อาจจะอธิบายไม่ชัดเจนนักเพราะว่าระบบการศึกษาส่วนนี้ไม่ เหมือนกับประเทศไทยครับ)

4.เด็กเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย
เป็นสาขาเรียนสำหรับนักเรียน ม.ปลาย ที่สอบเข้า ม.หัวเฉียว แต่ทั้งนี้คะแนนยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงต้องมาเรียนเพื่อปรับระดับอีกครั้ง คล้ายคลึงกับการเรียน pre ในมหาวิทยาลัยคอร์สอินเตอร์ ในประเทศไทย

 

การเรียนการสอน
ใน 1 ปีการศึกษาจะแบ่งเป็น 2 ภาคเรียน โดย
ภาคเรียนที่ 1 จะเริ่มประมาณเดือน สค.หรือ กย.ถึงประมาณเดือน มค.หรือ กพ. ในปีถัดไป โดยระยะเวลาเรียนประมาณ 20-21 สัปดาห์ แล้วจะเป็นการปิดเรียนภาคฤดูหนาวระยะเวลาประมาณ 4 สัปดาห์
ภาคเรียนที่ 2 จะเริ่มประมาณเดือน กพ.หรือต้น มี.ค ถึงประมาณเดือน กค.โดยระยะเวลาเรียนประมาณ 20-21 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเป็นการปิดเรียนภาคฤดูร้อนระยะเวลาประมาณ 7-8 สัปดาห์
ทั้งนี้ช่วงเวลาในการปิด-เปิดภาคเรียนในแต่ละปีจะไม่แน่นอน ต้องรอประกาศจากทางรัฐบาลซึ่งโดยทั่วไปทางรัฐบาลจะกำหนดโดยดูจากช่วงระยะเวลาวันหยุดตรุษจีนของจีนซึ่งแต่ละปีจะไม่ตรงกัน(คือจะต้องกำหนดให้วันหยุดตรุษจีนตรงกับช่วงปิดเทอมภาคฤดูหนาว)
หลักสูตรโดยคร่าวๆ
ปี 1 จะสอนพื้นฐานทางด้านภาษาจีน(ฟัง พูด อ่าน ไวยกรณ์) และวัฒนธรรม (ร้องเพลง, พลศึกษา, วาดรูป ฯลฯ)
ปี 2 ยังคงสอนทักษะภาษาจีนแต่เพิ่มการเขียนเข้ามา รวมเป็น ฟัง พูด อ่าน เขียน และเพิ่มเติมวิชา อ่าน นสพ. , การเขียนเรียงความ, สุภาษิตและสำนวนจีนฯลฯ
ปี 3 และ 4 เมื่อศึกษาถึงปี 3 จะมีการให้แยกสาขาเรียน แบ่งเป็น 2 สาขา คือ ด้านการใช้ทักษะทางภาษาในการสอน (จบแล้วเป็นครูสอนภาษาจีน) และ ด้านธุรกิจ (วิชาเรียนจะเน้นหนักทางการใช้ภาษาในการติดต่อธุรกิจ)


การเรียน การสอน ภาษาจีน ปี 1
วิชาการสอน
เทอม1: มีเรียนวิชาหลัก 4 วิชา คือ วิชาการฟัง (听力课), วิชาการพูด (口语课), วิชาการอ่าน (阅读课), วิชาหลักภาษาจีน (汉语课) และจะต้องเรียนวิชาเสริมซึ่งในแต่ละปีจะมีการกำหนดแตกต่างกันไป สำหรับในรุ่นที่ 9 มีวิชาเสริม 3 วิชา คือ วิชาการเขียนพู่กันจีน (书法课), วิชาร้องเพลง (唱歌课) และวิชาพละ (体育课) เช่น รำมวยจีน,กระบี่จีน,ปิงปอง,เทนนิส,บาสเกตบอล,วอลเลบอล เป็นต้น
เทอม2: มีเรียนวิชาหลัก 4 วิชา คือ วิชาการฟัง(听力课), วิชาการพูด(口语课), วิชาการอ่าน(阅读课), วิชาหลักภาษาจีน(汉语课) และวิชาเสริม 1 วิชาคือ วิชาพละ(体育课) เช่น รำมวยจีน,กระบี่จีน,ปิงปอง,เทนนิส,บาสเกตบอล,วอลเลบอล เป็นต้น
รูปแบบทั่วไปในการเรียน
ในหนึ่งห้องเรียนจะมีนักเรียนประมาณ 15-30 คน โดยทางมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนดให้ว่าจะเรียนห้องใด การเรียนการสอนในห้องเรียนจะใช้ภาษาจีนทั้งหมด (บางครั้งอาจารย์อาจใช้ภาษาอังกฤษบ้างแต่น้อยมากๆ) สำหรับหนังสือแบบเรียนสำหรับปี 1 จะมีภาษาอังกฤษอธิบายควบคู่กับภาษาจีน แต่เมื่อเรียนในระดับที่สูงขึ้นแบบเรียนจะมีคำอธิบายภาษาอังกฤษลดลงเรื่อยๆจนถึงเป็นแบบเรียนภาษาจีนล้วน
การเข้า-เลิกเรียน: จะมีการเรียนการสอน วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ ตั้งแต่ 08.00 – 16.20 น.
ช่วงเช้า : 08.00 – 12.00 น. แบ่งเป็น 4 คาบๆละ 50 นาที โดยเมื่อจบแต่ละคาบจะมีพักเบรก 10 นาที
ช่วงบ่าย : 14.20 – 16.20 น. แบ่งเป็น 2 คาบๆละ 50 นาที โดยเมื่อจบแต่ละคาบจะมีพักเบรก 10 นาที
การประเมินผล : ในแต่ละเทอมโดยหลักๆจะมีการสอบเก็บคะแนนกลางภาค และปลายภาค (มีคะแนนเข้าห้องเรียน และคะแนนการบ้านด้วย) เกณฑ์ในการประเมินจะมี ดังนี้
คะแนน 90-100% อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก
คะแนน 80-90% อยู่ในเกณฑ์ ดี
คะแนน 70-80% อยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง
คะแนน 60-70% อยู่ในเกณฑ์ พอใช้
คะแนนต่ำกว่า 60% ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
คุณวุฒิ
โดยปกติหากจบการศึกษา ปี 2 จะได้วุฒิ อนุปริญญา และ จบการศึกษา 4 ปี จะได้วุฒิปริญญาตรี แต่ในช่วงตั้งแต่ปี 2552 (รุ่นที่ 5 และ 6) ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากทางมหาวิทยาลัยว่า ทุนที่ทางมหาวิทยาลัยให้แก่สมาคมฯ เป็นทุนสำหรับการ "อบรมศึกษา" เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีการออกวุฒิการศึกษาให้ถึงแม้จะจบระดับปี 2 แล้วก็ตามโดยหลังจบการศึกษาจะได้รับมอบเป็น "ใบประกาศนียบัตร" ว่าเคยได้เข้ารับการศึกษากับทางมหาวิทยาลัยฯ เท่านั้น แต่ในปี2554 หรือตั้งแต่รุ่นที่ 7 เป็นต้นมาทางมหาวิทยาลัยได้มีการปรับรูปแบบให้เหมาะสมอีกครั้งโดยหากจบปี 2 และปี 4 จะได้ใบรับรองคุณวุฒิเช่นเดียวกับนักเรียนทั่วไป และผู้ที่เรียนแค่ 1 ปี จะได้รับใบประกาศนียบัตรเช่นเดิม

 

การเตรียมตัวและเอกสาร
1.พาสปอร์ต ควรตรวจสอบวันเดินทางให้ดี โดยเมื่อนับถึงวันหมดอายุต้องมีเวลาเหลืออย่างน้อยที่สุด 1 ปี 6 เดือน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาข้อกำหนดทางการบินที่ว่าหากพาสปอร์ตมีอายุเหลือไม่ถึง 6 เดือนไม่อนุญาตให้ขึ้นเครื่องและเพื่อความสะดวกในการทำวีซ่านักศึกษา
2.วีซ่า นักเรียนทุนจะต้องดำเนินการขอวิซ่าแบบท่องเที่ยวแบบวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาซึ่งมีระยะเวลา 3 เดือนมาจากไทยก่อน (อันนี้ทางสมาคมจะเป็นผู้ดำเนินการให้) และเมื่อดินทางมาถึงจะต้องรีบดำเนินการเปลี่ยนเป็นวีซ่านักศึกษาให้เรียบร้อยก่อนที่วีซ่านักท่องเที่ยวจะหมดอายุ โดยปกติแล้วจะใช้เวลาดำเนินการประมาณหนึ่งสัปดาห์ และจะต้องยื่นหนังสือเดินทางฉบับจริงให้กับเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการจนเสร็จสิ้นขั้นตอน สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมมามีดังนี้
1.เอกสารรายงานผลตรวจร่างกายจากโรงพยาบาลพร้อมทั้งฟิล์มเอกซเรย์
2.หนังสือตอบรับการเข้าศึกษาของมหาวิทยาลัย( แบบ JW202 )
3.สำเนาหน้าแรกพาสปอร์ต
4.สำเนาวีซ่าและตรวจลงตราขาเข้า
5. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 2 รูป
6.ค่าธรรมเนียม 450 หยวน(ขั้นต่ำ)
ข้อควรระวัง
เมื่อเดินทางมาถึงประเทศจีนแล้วควรรีบดำเนินการเกี่ยวกับวีซ่า เพื่อป้องกันความผิดพลาด และหมั่นตรวจสอบวันหมดอายุของวีซ่า เนื่องจากหากวีซ่าหมดอายุจะมีค่าปรับวันละ 2,000 หยวน
3.การตรวจสุขภาพ
เพื่อความสะดวกควรตรวจสุขภาพกับโรงพยาบาลจุฬาฯ เนื่องจากถ้าเป็นโรงพยาบาลอื่นอาจจะต้องมีการดำเนินการตรวจสอบ ซึ่งอาจจะเพิ่มขั้นตอนนิดหน่อย และถ้าเป็นไปได้ให้ตรวจสุขภาพมาจากไทย เพราะการตรวจสุขภาพที่จีนมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
4.รูปถ่าย
การทำธุรกรรมหรือเอกสารราชการจะใช้รูปถ่าย 2 นิ้วเป็นส่วนใหญ่ ส่วนกิจกรรมทั่วไปจะใช้รูป 1 นิ้ว เพื่อความสะดวกควรนำมาชนิดละ 1-2 โหล

 

อาหาร
อาหารที่นี่รสชาติค่อนข้าง จืดและมัน ถ้ามีรสชาติหน่อยก็จะค่อนไปทางเค็ม สำหรับผู้ที่ชอบรสจัด อาจนำน้ำพริกที่ชอบมาด้วย แต่ถ้าเป็นพริกป่นธรรมดา ที่นี่มีพริกป่นขาย หรือจะซื้อพริกแห้งมาคั่วป่นเองก็ได้ ส่วนพวกซอสหรือซีอิ๊วต่างๆ ที่นี่ส่วนมากจะมีซีอิ๊วขาวที่ทำจากถั่วเหลือง กลิ่นและรสชาติจะเหมือนๆกัน หากผู้ที่ชอบหรือติดรสชาติของแม็กกี้ ซีอิ๊วขาวเห็ดหอม ซอสพริก น้ำจิ้มไก่ รสชาติไม่เหมือนของไทย ควรนำติดมาด้วย
สำหรับผู้ที่ชอบทำอาหาร อาหารสดที่นี่ก็จะมีไม่ต่างจากบ้านเรามากนัก มีเลมอนที่ให้ความเปรี้ยวแทนมะนาวได้ แต่หากใช้มะขามเปียก และกะทิให้นำมาด้วยเพราะที่นี่ไม่มีขาย (น้ำมะขามซองๆ และกะทิผง หาซื้อได้ที่ Tops และ Maxvalue) ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาซาดีนกระป๋อง ตามห้างร้านปกติไม่มีจำหน่าย จะมีจำหน่ายในห้างที่นำเข้าของต่างประเทศ ซึ่งราคาแพงมาก และไม่มียี่ห้อให้เลือก
เครื่องดื่ม เช่น กาแฟ ไมโล Tang ฯลฯ รสชาติจะไม่เข้มข้นเหมือนของไทย

 

ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายในเบื้องต้นเมื่อมาถึงคือ
- ค่าทำวีซ่านักเรียน (ระยะเวลาหนึ่งปี) 550 หยวน
- ค่าลงทะเบียนนักเรียนใหม่(ตลอดชีพ) 500 หยวน
- ค่าหนังสือประมาณ 300 หยวน /เทอม
*หมายเหตุ ค่าหนังสือของแต่ละชั้นปี และ/หรือในแต่ละปี ราคาจะไม่เท่ากัน ข้อมูลนี้เป็นการประมาณการที่ใกล้เคียงเท่านั้น
ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
- ค่าอาหารประมาณอย่างต่ำ(มื้อละ) 15 หยวน (ประเมินให้มีสารอาหารครบห้าหมู่ แต่หากรับประทานในโรงอาหารสามารถประหยัดกว่านี้ได้ แต่สารอาหารที่ได้อาจไม่ครบถ้วน)
- น้ำดื่ม(ขนาด200มิลลิลิตร)(ขวดละ) 2 หยวน (ทั้งนี้มีน้ำดื่มถังละ 18ลิตร ราคา 10หยวน บริการถึงห้อง ซึ่งคุณภาพก็อาจจะด้อยลงมาจากน้ำดื่มขวดๆทั่วไป บางท่านอาจต้มก่อนดื่ม)
- ค่าสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น
-แปรงสีฟัน (ด้ามละ) 30 หยวน
-ยาสีฟัน(หลอดละ) 20 หยวน
-สบู่อาบน้ำ 20 หยวน
-แชมพู+ครีมนวดผม 70 หยวน
-น้ำยาซักผ้า 25 หยวน
-กระดาษชำระ 15 หยวน
สำหรับสุภาพสตรีสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ผ้าอนามัยและแผ่นอนามัย ที่นี่ก็มีให้เลือกหลายยี่ห้อค่ะ ยี่ห้อที่เหมือนกับของไทย ก็มีทั้งโซฟี และวิสเปอร์
*หมายเหตุ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน หากติดยี่ห้อแนะนำให้นำมาจากไทย ส่วนสบู่อาบน้ำ แชมพูและครีมนวดผม ยี่ห้อที่เหมือนไทยก็จะมียี่ห้อที่เป็นของบริษัท P&G เช่น และยูนิลิเวอร์ เช่น โดฟ เซฟการ์ด เดทตอล โอเลย์ แพนทีน ฯลฯ
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนมากเดินทางโดยรถเมล์ และBRT ซึ่งสามารถทำบัตรอีทงข่า (e通卡)ซึ่งเป็นบัตรแบบเติมเงิน สามารถใช้รูดบัตรในการจ่ายเงินค่าโดยสารรถเมล์ได้ทุกคัน โดยค่าโดยสารจะถูกกว่าการจ่ายเงินสด เพื่อสะดวกและประหยัดในการเดินทางและบัตรนี้สามารถใช้รูดจ่ายเงินค่าสินค้าในร้านค้าที่มีการเข้าร่วมได้อีกด้วย โดยการซื้อบัตรครั้งแรกจะมีสองแบบ คือ
1. ซื้อที่สถานี BRT หรือที่ทำการไปรษณีย์ ราคา 80 หยวน โดยเป็นค่ามัดจำบัตร 30 หยวนและมีเงินให้สามารถใช้ได้เลยจำนวน 50 หยวน
2. ซื้อข้างนอก(ร้านขายหนังสือ) เป็นบัตรเปล่าราคา 30 หยวน และเติมเงินได้ตามต้องการ(เติมที่ร้านได้เลย)
- ค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมของรุ่น
ในแต่ละปีจะมีกิจกรรมให้พวกเราได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำอยู่หลายกิจกรรม ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมของพวกเราเอง หรือร่วมกันกับน้องๆนักเรียนไทย ซึ่งทุกๆกิจกรรมจะต้องมีค่าใช้จ่าย อาจต้องมีการเตรียมเงินส่วนนี้ไว้ประมาณ 100 หยวนต่อเดือน

 

การเปิดบัญชีธนาคาร
ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ใช้ ใกล้กับหัวเหวิน ของเราของจะมีอยู่ 2 แห่งให้เลือก 中国银行ซึ่งจะมีตู้ ATM ให้บริการอยู่บริเวณประตูหลังของมหาลัยและใกล้ๆกันที่学生街จะมีธนาคารเปิดให้บริการ ค่อนข้างสะดวกคนจะน้อยกว่า工商银行 ที่อยู่บริเวรถนน石鼓路 ทั้งนี้เมื่อรุ่นน้องมาจะจัดแบ่งออกเป็น2วันสำหรับ2ธนาคาร เพื่อให้น้องๆได้ตัดสินใจเอาเองคะ
การ กดเงิน ตู้ ATM ในประเทศจีนนั้นสามารถใช้บัตรธนาคารประเทศไทยกดเงินได้เป็นปกติโดยกดหนึ่ง ครั้งเสียค่าธรรมเนียม 100 บาท วงเงินสูงสุดได้ 2,500 หยวน/ครั้ง

 

การใช้โทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต
เครือข่ายโทรศัพท์ของจีน โดยหลักๆมี 2 เครือข่าย คือ
中国联通 เป็นเครือข่ายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากมีค่าบริการที่ถูกกว่า และสัญญาณอินเตอร์เน็ตเมื่ออยู่ในเกาะเซียะเหมินมีความเร็วมากกว่าเมื่อเทียบกับอีกเครือข่าย
中国移动 ค่าบริการต่อเดือนเมื่อเทียบกับอีกเครือข่ายจะมีราคาสูงกว่า แต่สัญญาณจะค่อนข้างครอบคลุมมากกว่า อีกเครือข่าย
ความถี่สัญญาณ
สัญญาณ 2G ความถี่ 900
สัญญาณ 3G ความถี่ 2100
สัญญาณ 4G ในพื้นที่เซียะเหมินมีเฉพาะของเครือข่าย China Mobile (中国移动) (มิถุนายน 57)
อินเตอร์เน็ต
ที่มหาวิทยาลัยมีบริการ Wifi ของ Chinanet (คล้ายๆ กับ True-wifi บ้านเรา) เมื่อสมัครบริการแล้วจะได้ username และ password ซึ่งสามารถใช้ได้ในทุกที่มีสัญญาณของ Chinanet
ค่าบริการ ณ มิถุนายน 2557 อยู่ที่ 35 หยวนต่อเดือน
VPN
ด้วยในประเทศจีนมีการบล๊อคหลายๆ เว็บไซต์ เช่น Facebook, Twitter, Google+ ฯลฯ การใช้ VPN จะทำให้ผ่านข้อจำกัดเหล่านี้ไปได้ โดย VPN นั้นจะมีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน ทั้งนี้ความสะดวก และความรวดเร็วขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่จะแห่งไป
App แนะนำ
兜兜公交 (dou dou gong jiāo) เป็น app สำหรับค้นหาเส้นทางรถประจำทาง พร้อมทั้งบอกว่ามีรถเมล์แต่ละคันอยู่ที่ไหนบ้าง
百度地图 (băi dù dì tú) เป็น app ที่ใช้แทน Google maps
WeChat (微信) เป็น app สื่อสารที่อาจารย์นิยมใช้เพื่อความสะดวกในการติดต่อกับนักเรียน
天翼Wifi app สำหรับอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อ Wifi ของ Chinanet
QQ เป็น app ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งคนจีนส่วนใหญ่นิยมใช้ในการติดต่อสื่อสาร
โรมมิ่ง
สามารถติดต่อเครือข่ายที่ใช้บริการอยู่เพื่อโรมมิ่งข้ามประเทศได้ ทั้งนี้อย่าลืมที่จะตัดบริการเสริมทั้งหมดออกรวมทั้งบริการฝากข้อความ และขอให้เครือข่ายปิดการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่จะเกิดขึ้น

 

ระบบไฟของจีน
ในประเทศจีนใช้ไฟฟ้าแรงดัน 220 V.
เต้าเสียบในประเทศจีนจะมีอยู่ 3 ระบบ ดังนี้
1. แบบสองขา
โดยทั่วไปจะใช้แบบสองขาแบนตรง (แบบ NEMA หรือแบบอเมริกา/ญี่ปุ่น) อาจมีบางแห่ง (รวมถึงหอพัก) สามารถเสียบสองขาแบบกลม (แบบยุโรป) ได้ด้วย
2. แบบสามขา
ใช้แบบเดียวกันทั่วประเทศคือ สามขาแบน เป็นสองขาเฉียง และหนึ่งขาตรง (แบบ China CPCS-CCC (Type I))

 

เสื้อผ้าและการแต่งกาย
เสื้อผ้าที่เหมาะสมกับสภาพอากาศ ทั้งนี้อากาศในเมืองเซียะเหมินช่วงต้นๆ ที่มาถึง ตั้งแต่ เดือน ส.ค., ก.ย. และ ต.ค. จะอยู่ในช่วงอากาศร้อน (ถึงร้อนมาก) โดยจะมีฝนตกบ้างเป็นบางวันแต่เมื่อเข้าปลายๆ เดือน ต.ค. จะเริ่มอากาศเย็น และจะเริ่มเข้าขั้นหนาวช่วงกลางเดือน พ.ย. และจะหนาวไปจนถึงเดือน เม.ย. อีกปี โดยเสื้อผ้าสำหรับอากาศหนาวในเมืองเซียะเหมินราคาไม่สูง สามารถหาซื้อได้ที่นี่
สำหรับบุคคลที่เป็น ขรก.ทหาร ชุดที่ต้องนำมา คือ "ชุดคอแบะ" สำหรับบุคคลที่เป็น ขรก.พลเรือน ชุดที่ต้องนำมา คือ "ชุดขาว" เนื่องจากสถาบันการศึกษาแห่งนี้ในบางปีจะต้องมีการรับเสด็จ "สมเด็จพระเทพฯ" รวมทั้งต้องพบกับ ขรก.ชั้นผู้ใหญ่ต่างๆ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการเข้าร่วมงานที่มหาวิทยาลัยจัด และขอความร่วมมือ จากคณะ ขรก. ที่มาศึกษาต่อในการแต่ง "เครื่องแบบ"
สำหรับ ทุกคน ชุดที่ต้องนำมา (อีกชุด) คือ "ชุดสูท" เพื่อเข้าร่วมงาน ที่มีระดับเป็นทางการ หรือกึ่งทางการ สำหรับ "ผู้ร่วมคณะที่เป็นผู้หญิง" ชุดที่ควรจะนำมา คือ "ชุดไทย (ประยุกต์)" เนื่องจากบางงาน หรือกิจกรรมบางอย่างจะต้องใช้ถ้ามีจะทำให้สะดวกมากขึ้น
ชุดสำหรับใช้ในการศึกษา คือ "ชุดไปรเวท" (แบบสุภาพ) เช่น เสื้อยืดคอโปโล (คอปก) กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น เป็นต้น

 

กิจกรรมต่างๆในรอบปี
ทางมหาลัยจัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้ใช้ภาษาจีนร่วมกับคนจีน, เผยแพร่วัฒนธรรมไทยและเพื่อเป็นเกียรติแก่ทางฝ่ายจีน. มีคร่าวๆดังนี้
1.เข้าร่วมงานพิธีเปิดการศึกษาของทางมหาลัย
2.เข้าร่วมพิธีเปิดงานกีฬาของมหาลัย
3.งานลอยกระทง มีการจัดประกวดนางนพมาศ, การแสดงต่างๆของแต่ละชาติ ทั้งนี้มีนักเรียนทุนข้าราชการ+นักเรียนไทยเป็นผู้จัด
4.วันสงกรานต์
5.แข่งพายเรือมังกร
6.ละครเวทีร่วมกับนักเรียนจีนและนักเรียนต่างชาติโดยใช้ภาษาจีน
7.งานประกวดร้องเพลง
8.การแข่งขันทักษะความรู้ภาษาจีนและวัฒนธรรมจีน
9.ทัศนศึกษา ช่วงวันชาติจีน ปิดเทอมฤดูหนาวและฤดูร้อน โดยค่าใช้จ่าย (ส่วนหนึ่ง) ทางมหาวิทยาลัยได้ให้การช่วยเหลือ
10.งานเลี้ยงขอบคุณอาจารย์


     แหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/      http://www.hqu.edu.cn/  
http://hwxy.hqu.edu.cn/   http://hwxy.hqu.edu.cn/vodhw/index.asp (ทิวทัศน์ของสถานศึกษา)


     จัดทำเมื่อ   4  ส.ค.53
     ปรับปรุง     14 ส.ค. 55

 

ขอขอบคุณ... ร้อยตำรวจเอก กิตติพงษ์ ศรีดาเดช และคณะ