bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ต.ค.๖๓ : การที่จีนจัดการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ ครั้งที่ ๑๑ ณ เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) ในวันที่ ๑๕ต.ค.๖๓

ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการที่จีนจัดการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ ครั้งที่ ๑๑ (第十一届泛北部湾经济合作论坛) ณ เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) ในวันที่ ๑๕ต.ค.๖๓ โดยเป็นการประชุมทางไกลภายใต้รูปแบบการบูรณาการออนไลน์ – ออฟไลน์ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
 
๑. การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการกำหนดหัวข้อการประชุมว่า "Focus on International Gateway Ports and Jointly Build New Land-Sea Channels: A New Era of Pan-Northern Cooperation" (“聚焦国际门户港,共建陆海新通道:泛北合作的新时代”) โดยมุ่งเน้นไปที่จีนและประเทศในอาเซียนในยุคใหม่ที่จะร่วมกันสร้างช่องทางท่าเรือระหว่างประเทศและร่วมกันสร้างช่องทางบก – ทางทะเลใหม่ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจทางทะเล การพัฒนาครบรอบ ๑๐ ปีความสำเร็จของเขตการค้าเสรีจีน – อาเซียน และโอกาสใหม่สำหรับความร่วมมือ Pan-Northern ที่จะมีการหารือในเชิงลึก โดยในเวลาเดียวกันจะมีการจัดการประชุมย่อยย่อยสองเวทีคือ การประชุมเครือข่ายความร่วมมือเมืองท่าจีน – อาเซียน และการประชุมสุดยอดคลังสมองรอบอ่าวเป่ยปู้ (同期将并行举办中国—东盟港口城市合作网络工作会议、泛北智库峰会两个分论坛。)
 
๒. ปัจจุบัน จีนโดยรัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) เป็นเจ้าภาพจัดประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้มาแล้ว ๑๐ ครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๙ ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับอ่าวเป่ยปู้ หรืออ่าวตังเกี๋ย และทะเลจีนใต้ อันได้แก่ จีน โดยเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กว่างสี) มณฑลกวางตุ้ง และมณฑลไห่หนาน เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และไทย โดยการประชุมที่ผ่านมาไทยมีผู้แทนระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์เข้าร่วมการประชุมความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับจีนและประเทศสมาชิกในภูมิภาค สำหรับแนวโน้มของการพัฒนาระหว่างจีน – อาเซียน ซึ่งได้กลายเป็นหนึ่งในกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญ กล่าวคือ
     ๒.๑ ปัจจุบัน การก่อสร้างทางเดินทะเลและทางบกแห่งใหม่ ไม่เพียงแต่จะได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ ตามเส้นทางเท่านั้น แต่ยังดึงดูดการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของจังหวัดในภาคตะวันตกของจีนและแม้แต่จังหวัดทางตะวันออกและภาคกลางของจีนด้วย โดยเมื่อสิ้นเดือนสิงหาคมปีนี้ ท่าเรืออ่าวเป่ยปู้ของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) ได้เปิดให้บริการรถไฟระหว่างทางทะเล ๖ สายที่เชื่อมต่อจังหวัดทางตะวันตก โดยมีการขนส่งรถไฟมากกว่า ๖,๒๐๐ ขบวน ตู้คอนเทนเนอร์มากกว่า ๓๑๐,๐๐๐ ตู้ และการขนส่งมากกว่า ๓๐๐ ประเภท  
     ๒.๒ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๐ อัตราการเติบโตของปริมาณการค้าระหว่างมหานครฉงชิ่ง มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ใณฑ,หยุนหนาน (ยูนนาน) และมณฑลทางตะวันตกอื่นๆ ของจีน กับอาเซียนเพิ่มขึ้นถึง ๑๕% และสัดส่วนของการค้าสินค้าจากต่างประเทศที่ขนส่งผ่านทางเดินทะเลทางบกใหม่ก็เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน
 
๓. ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการประชุมในครั้งนี้  
     ๓.๑ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ปาฐกถาพิเศษผ่านการประชุมทางไกล โดยให้ความสำคัญในการหารือเรื่องท่าเรือสากล การเสริมสร้างระเบียงทางการค้าเชื่อมทางบกกับทางทะเลระหว่างประเทศแห่งใหม่ และจะมีการหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระเบียงทางการค้าเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่ หรือ New International Land-Sea Trade Corridor ตลอดจนความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือและเส้นทางขนส่งทางบก ความร่วมมือและการพัฒนาด้านการขนส่งในหลายรูปแบบ และการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการทางศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิก
     ๓.๒ การพัฒนาความเชื่อมโยงดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าเกษตรและผลไม้ของไทยไปจีนได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงของประเทศ โดยนโยบายของไทยพร้อมใช้จุดแข็งด้านยุทธศาสตร์ที่ตั้งของประเทศร่วมมือกับจีนในการขยายความร่วมมือด้านต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านการขนส่งทางทะเล และการพัฒนาความร่วมมือระหว่างท่าเรือของประเทศรอบอ่าวเป่ยปู้ และต่อยอดการใช้ประโยชน์จากการเปิดตลาดภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA)
 
บทสรุป

การที่จีนจัดการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ ครั้งที่ ๑๑ นี้ จึงเป็นการตอกย้ำต่อกรณีที่รัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) พยายามผลักดันการเปิดเส้นทางเดินเรือพาณิชย์เพื่อเชื่อมกับท่าเรือสำคัญในประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงท่าเรือของประเทศไทย ทั้งนี้ การเปิดเส้นทางการ เดินเรือพาณิชย์จะทำให้ช่องทางการส่งออกสินค้าของประเทศไทยมีความหลากหลายมากขึ้น อันจะเกิดประโยชน์ ต่อการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทยที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต
 
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์

http://www.hao88.org/zx/2020/1012/10846.html 

https://www.investgo.cn/article/yw/dfzcq/202010/507890.html 

http://tradeinservices.mofcom.gov.cn/article/news/gnxw/202010/110224.html 

http://www.chinanews.com/cj/2020/09-15/9291266.shtml

https://mgronline.com/business/detail/9630000103877