bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันพุธที่ ๒๖ พ.ค.๖๔ แนวโน้มของตลาดทุเรียนในประเทศจีน และโอกาสของประเทศไทยที่จะกลายเป็นผู้ผลิตทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลกในอีก ๕ ปีข้างหน้า

จีนศึกษา วันพุธที่ ๒๖ พ.ค.๖๔ แนวโน้มของตลาดทุเรียนในประเทศจีน และโอกาสของประเทศไทยที่จะกลายเป็นผู้ผลิตทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลกในอีก ๕ ปีข้างหน้า ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. ผลผลิตทุเรียน (榴莲) ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลก รองลงมาคือ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ แต่ปริมาณการส่งออกทุเรียนจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีจำนวนน้อยลงเนื่องจากข้อจำกัดด้าน คุณภาพและมาตรฐานการส่งออก ดังนั้น หากมองย้อนกลับไปตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๒-๒๕๖๓ พบว่า ปริมาณการนำเข้าทุเรียนไทยในตลาดจีนในแต่ละปีมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีจำนวนมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ตันในปี พ.ศ.๒๕๖๒ และมากกว่า ๖๐๐,๐๐๐ ตันในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ทั้งนี้ คาดว่าในปีนี้จะมีปริมาณมากกว่า ๖๕๐,๐๐๐ ตัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของตลาดผู้บริโภคในจีน และโอกาสของทุเรียนไทยในตลาดจีน
 
๒. ในรายงานข่าวของจีนที่ได้อ้างถึงศูนย์วิจัยการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยชี้ว่า ประเทศไทยจะแซงหน้าอินโดนีเซียใน ๕ ปีข้างหน้าและขึ้นแท่นผู้ผลิตทุเรียนรายใหญ่ของโลกภายในปี พ.ศ.๒๕๖๘ รวมทั้งผลผลิตจะเกิน ๒ ล้านตัน โดยราคาทุเรียนหมอนทองที่ส่งออกอาจสูงขึ้นถึง ๒๙๐ บาท / กก. ในขณะที่มีรายงานการวิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงของตลาดทุเรียนไทยในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๖๓) และในอนาคตอีก ๕ ปีข้างหน้า (พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๖๘) เมื่อเทียบกับแนวโน้มการพัฒนาจะพบว่า การส่งออกทุเรียนของโลกในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจาก ๕๒๑,๐๒๘ ตันในปี พ.ศ.๒๕๕๔ เป็น ๗๗๒,๘๖๐ ตันในปี พ.ศ.๒๕๖๓ เพิ่มขึ้น ๔๘.๓% และในอีก ๕ ปีข้างหน้าปริมาณการส่งออกทุเรียนของโลกจะเพิ่มขึ้น ๑๓๔.๕% แตะ ๑.๘๑๒ ล้านตัน โดยที่ประเทศไทยจะครองอันดับหนึ่
 
๓. สำหรับราคาทุเรียนใน ๕ ปีข้างหน้า (พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๖๘) จะขึ้นอยู่กับ ๓ สถานการณ์ คือ
     ๓.๑ หากจีนนำเข้าทุเรียนหมอนทองน้อยกว่า ๑๐% ราคาขายส่งของทุเรียนหมอนทองใน Guangzhou Jiangnan Fruit Exchange จะอยู่ที่ ๑๗๗ บาท / กก. ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๘ และราคาขายส่งเฉลี่ยของทุเรียนหมอนทองในปี พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๖๘ จะอยู่ที่ ประมาณ ๑๗๔ บาท / กก.
     ๓.๒ หากจีนนำเข้าทุเรียนจากไทยเพิ่มขึ้น ๑๐-๑๕% ราคาขายส่งของทุเรียนหมอนทองใน Guangzhou Jiangnan Fruit Exchange จะอยู่ที่ประมาณ ๒๗๙ บาท / กก. ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๘ และราคาขายส่งเฉลี่ยของทุเรียนหมอนทองในปี พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๖๘ จะอยู่ที่ประมาณ ๒๔๓ บาท / กก. กก.
     ๓.๓ หากจีนนำเข้าทุเรียนไทยมากกว่า ๑๕% ราคาขายส่งของทุเรียนหมอนทองใน Guangzhou Jiangnan Fruit Exchange จะอยู่ที่ประมาณ ๓๗๙ บาท / กก. ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๘ และราคาขายส่งเฉลี่ยของทุเรียนหมอนทองในปี พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๖๘ จะอยู่ที่ประมาณ ๒๙๐ บาท / กก.
 
บทสรุป

นอกจากการที่ประเทศไทยจะกลายเป็นผู้ผลิตทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลกในอีก ๕ ปีข้างหน้าและมีโอกาสอย่างมากในตลาดจีนแล้ว ยังมีการวิเคราะห์ว่า จะมีโอกาสเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทุเรียนได้มากขึ้น อันจะทำให้ทุเรียนพื้นบ้านและทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของไทยได้รับความนิยมมากขึ้น รวมทั้งคุณภาพทุเรียนที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GMP และการรับรองมาตรฐาน Good Agricultural Practice (GAP) จะเป็นโอกาสในการพัฒนาตลาดใหม่ๆ ของทุเรียนไทย อาทิ ในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง และอินเดีย เป็นต้น  
 
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

https://www.ittime.com.cn/news/news_47130.shtml

https://www.gushiciku.cn/dl/1gpPw