bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันพุธที่ ๕ ส.ค.๖๓ การที่ประเทศจีนได้จัดตั้งระบบนโยบายธรรมาภิบาลเบื้องต้นในชนบทและปรับปรุงกลไกการประสานงานอย่างต่อเนื่อง (中国初步建立乡村治理政策体系 不断健全协同推进机制) จากการรายงานโดยกระทรวงเกษตรและชนบท (农业农村部) ของจีน เมื่อวันที่ ๒ ส.ค.๖๓


 
๑. ระบบนโยบายธรรมาภิบาลเบื้องต้นในชนบท (乡村治理政策体系初步) จากการที่สำนักงานเกษตรกลาง กระทรวงเกษตรและชนบท (中央农办、农业农村部) ได้จัดการประชุมทางวิดีโอเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ระบบคะแนนในการปกครองชนบทในกรุงปักกิ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งพบว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาหลายท้องถิ่นได้สำรวจและคิดค้นวิธีการกำกับดูแลชนบท โดยเมื่อปีที่แล้ว ได้มีการเริ่มต้นโครงการนำร่องระบบบริหารหมู่บ้านชนบทใน ๑๑๕ อำเภอทั่วประเทศ โดยทุกพื้นที่หารือวิธีการบริหารชนบทอย่างจริงจังและสร้างสรรค์ ด้วยการรณรงค์การใช้ระบบสะสมแต้ม เพื่อช่วยแก้ไขและปรับปรุงพฤติกรรมในเรื่องที่ชาวบ้านควรใส่ใจและให้ความสำคัญในพื้นที่ชนบท จนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ดังตัวอย่างในพื้นที่ต่างๆ กล่าวคือ
     ๑.๑ ที่เมืองกู้หยวน (固原市) เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย (宁夏回族自治区)  โดยได้จัดระบบครัวเรือนหมู่บ้านแต่ละแห่งเป็นหน่วย โดยจัดทำบัญชีจำแนกเป็น ๑๒ ประเภทใหญ่ รวม ๕๑ รายการ เช่น การขจัดความยากจน และการส่งเสริมประเพณี ให้สะสมคะแนนจาก ๓ ด้าน ได้แก่ คะแนนพื้นฐาน คะแนนประชาธิปไตย และคะแนนคุณงามความดี ฯลฯ โดย ๑ คะแนนเท่ากับ ๑ หยวน ซึ่งชาวบ้านจะสามารถนำไปแลกซื้อของในร้านได้
     ๑.๒ ที่เมืองจินซื่อ (津市) มณฑลหูหนาน (湖南省) ได้มีการตั้ง “ธนาคารสีเขียว” (“绿色银行” ) ใน ๕๑ หมู่บ้านและชุมชนในพื้นที่ชนบท ให้สะสมคะแนนจากการแยกขยะ โดยถือเป็นการแจก “สมุดบัญชีธนาคารสีเขียว” (“绿色存折” )ให้กับแต่ละครัวเรือน เพื่อเดินหน้าการแยกแยะขยะในพื้นที่ชนบทจนประสบความสำเร็จ ๑๐๐% เต็ม
 
๒. การดำเนินการของระบบนโยบายธรรมาภิบาลเบื้องต้นในชนบทดังกล่าว มีความสอดคล้องต่อยุทธศาสตร์การฟื้นฟูชนบท (关于实施乡村振兴战略) ซึ่งได้มีการประกาศใช้ "แผนยุทธศาสตร์การฟื้นฟูชนบท ปี พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๖๕ (乡村振兴战略规划 2018-2022年)" กล่าวคือ
     ๒.๑ ในการประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ ๑๙ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เสนอให้ใช้ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูชนบท ซึ่ง คณะกรรมการกลางพรรคที่มีเลขาธิการสี จิ้นผิง เป็นแกนกลาง ได้มุ่งเน้นไปที่สถานการณ์โดยรวมของพรรคและประเทศ การตัดสินใจและการปรับใช้ที่สำคัญในงาน "เกษตรกรรมพื้นที่ชนบทและเกษตรกร" จึงเป็นงานประวัติศาสตร์ที่สำคัญสำหรับชัยชนะอย่างเด็ดขาดในการสร้างสังคมที่ดีในทุกด้านและสร้างประเทศสังคมนิยมที่ทันสมัยในทุกด้าน ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมาย "สองศตวรรษ" (“两个一百年”) ในการสร้างสังคมที่เจริญรุ่งเรืองปานกลางในทุกทางเพื่อบรรลุเป้าหมายครบรอบหนึ่งศตวรรษ และการเดินทางครั้งใหม่สู่ประเทศที่ทันสมัยอันบรรลุสู่เป้าหมายครบร้อยปีที่สอง (既要全面建成小康社会、实现第一个百年奋斗目标,又要乘势而上开启全面建设社会主义现代化国家新征程,向第二个百年奋斗目标进军。) โดยนำจิตวิญญาณของการประชุมสมัชชาแห่งชาติของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนครั้งที่ ๑๙ การประชุมงานเศรษฐกิจกลาง การประชุมงานกลางชนบทและข้อกำหนดของรายงานการทำงานของรัฐบาลร่างแผนยุทธศาสตร์เสริมสร้างการวางแผน รวมทั้งการชี้นำทางวิทยาศาสตร์และส่งเสริมการฟื้นฟูอุตสาหกรรมชนบท ตามความเห็นของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและคณะรัฐมนตรี นำไปสู่การใช้ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูชนบท โดยมีแผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูชนบท (ปี ๒๐๑๘ – ๒๐๒๒ หรือ พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)  
     ๒.๒ แผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูชนบทดังกล่าวนี้ ถูกชี้นำโดยเลขาธิการสี จิ้นผิง เรื่อง "เกษตรกรรมพื้นที่ชนบทและเกษตรกร" หรือที่เรียกว่า “สามชนบท” (“三农”)  ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดทั่วไปของความเจริญรุ่งเรืองทางอุตสาหกรรมและความน่าอยู่ของระบบนิเวศวัฒนธรรมชนบท การปกครองที่มีประสิทธิภาพและชีวิตที่ร่ำรวย รวมทั้งชี้ถึงเป้าหมายและภารกิจในการสร้างสังคมที่เจริญรุ่งเรืองในระดับปานกลางในทุก ๆ ด้านในปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) ที่จะนำไปสู่การประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ ๒๐ ของพรรคในปี ๒๐๒๒ (พ.ศ.๒๕๖๕) โดยปรับแต่งลำดับความสำคัญของงานจริงและมาตรการเชิงนโยบาย ตลอดจนการปรับใช้โครงการสำคัญ แผนสำคัญและการดำเนินการที่สำคัญ อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการชี้นำภูมิภาคและส่วนต่างๆ เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูชนบทอย่างเป็นระเบียบ
 
บทสรุป

ความสำเร็จของระบบบริหารหมู่บ้านชนบทจากการจัดตั้งระบบนโยบายธรรมาภิบาลเบื้องต้นในชนบทและปรับปรุงกลไกการประสานงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากกรณีตัวอย่างของเมืองกู้หยวน เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย และเมืองจินซื่อ มณฑลหูหนาน ดังกล่าวที่สอดคล้องต่อยุทธศาสตร์การฟื้นฟูชนบทตามแผนยุทธศาสตร์การฟื้นฟูชนบท ปี พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๖๕ ของจีน โดยในหลายพื้นที่ได้ใช้ศักยภาพของพื้นที่และการดำเนินวิถีชีวิตเป็นจุดขายการท่องเที่ยวในเขตชนบท ซึ่งจากข้อมูลกระทรวงเกษตรและชนบทของจีน พบว่า จนถึงปลายปี ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๖๑) ได้ยกพื้นที่ ๓๘๘ อำเภอและเมือง เป็นตัวอย่างการท่องเที่ยวชนบท โดยได้ประชาสัมพันธ์หมู่บ้านที่สวยงาม ๗๑๐ แห่ง ด้วยการทำให้การท่องเที่ยวชนบทและการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นวิธีการพักผ่อนหย่อนใจของชาวจีน เช่น เมืองอี๋เหลียง มณฑลหยุนหนาน (云南省) นำวิถีชีวิตเก่าแก่ของคนท้องถิ่นเป็นเสน่ห์ดึงดูดการท่องเที่ยวชนบท ฯลฯ อันก่อให้เกิดรายได้และการไหลเวียนทางเศรษฐกิจสู่ชนบทอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทยากจนเพื่อให้หลุดพ้นความยากจนตามเป้าหมายภายในปีนี้
       
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์ 

http://www.kaiwind.com/c/2020-08-03/1236890.shtml 

http://www.gov.cn/zhengce/2018-02/05/content_5263825.htm 

http://cn.chinadaily.com.cn/a/202008/03/WS5f27a9c7a310a859d09dba63.html 

http://www.dongchanet.com/yaowen/20200803/64038.html 

http://www.yunnangateway.com/html/2020/guoneixinwen_0803/54574.html 

http://www.gdsvia.com/gdsvia/vip_doc/12904778.html 

http://news.ycwb.com/2020-08/03/content_1030330.htm 

https://www.ciyew.com/rural/5610-3930.html 

http://www.fj.chinanews.com/news/fj_jsxw/2020/2020-07-29/472081.html