bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันพุธที่ ๗ เม.ย.๖๔ แนวคิดในการพัฒนาการท่องเที่ยวของจีนในอีก ๕ ปีข้างหน้า ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะห้าปี ฉบับที่ ๑๔

๑. ในการพัฒนาประเทศของจีนตาม "แผนห้าปี ฉบับที่ ๑๔" (“十四五” ) ที่เพิ่งประกาศเมื่อเร็วๆ นี้และโครงร่างเป้าหมายระยะยาวปี ๒๐๓๕ (พ.ศ.๒๕๗๘) ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จะพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงลึกจำนวนมากโดยเป็นการท่องเที่ยวอย่างชาญฉลาด รวมทั้งมีระบบผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่เป็นนวัตกรรมใหม่และให้ประสบการณ์การบริโภคด้านการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น ทั้งนี้ การท่องเที่ยวอย่างชาญฉลาด จะมีลักษณะเฉพาะจากการพัฒนาในรูปแบบดิจิทัล โดยมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อนำเข้าสู่ประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการจัดการเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งด้านวัตถุและวัฒนธรรมที่เพิ่มขึ้นของผู้คน รวมทั้งส่งเสริมธรรมาภิบาลในการท่องเที่ยวโดยการปรับปรุงระบบและความสามารถในการกำกับดูแลให้ทันสมัย
 
๒. เมื่อปลายปีที่แล้ว ๑๐ หน่วยงานของจีน รวมถึงกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวได้ร่วมกันออกความคิดเห็นเกี่ยวกับ “ อินเทอร์เน็ต + การท่องเที่ยว"( “互联网+旅游”) ในเชิงลึกและการส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง โดยเสนอให้เร่งสร้างแหล่งท่องเที่ยวอัจฉริยะ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลการท่องเที่ยว การสร้างสรรค์รูปแบบการบริการสาธารณะด้านการท่องเที่ยวและเพิ่มมาตรการต่างๆ รวมถึงความพยายามทางการตลาด การท่องเที่ยวออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสูงของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยยกระดับประสบการณ์อันน่าประทับใจของนักท่องเที่ยวและความสะดวกสบายในการรับบริการท่องเที่ยวรวมทั้งเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง
 
๓. กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีน ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แนะนำว่าในช่วง "แผนห้าปี ฉบับที่ ๑๔" ประเทศจีนจะเร่งสร้างการท่องเที่ยวอย่างชาญฉลาดใน ๓ ประการ ได้แก่
     ๓.๑ การเร่งสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่ชาญฉลาด ส่งเสริมการสร้างสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นของรัฐทั้งหมดเพื่อให้บริการจองห้องพักออนไลน์ก่อนสิ้นปี ๒๐๒๑ (พ.ศ.๒๕๖๔)
     ๓.๒ การควบคุมรวมทั้งมีแนวทางในการสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มการให้บริการสาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวอย่างชาญฉลาด
     ๓.๓ การปลูกฝังรูปแบบธุรกิจใหม่และรูปแบบใหม่ ด้วยการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งทรัพยากรทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวให้สามารถ "ดำรงอยู่" (“活起来”) ได้ด้วยความช่วยเหลือของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มทางเลือกในการบริโภคของนักท่องเที่ยว
 
บทสรุป

แนวคิดในการพัฒนาการท่องเที่ยวของจีนในอีก ๕ ปีข้างหน้า ซึ่งมุ่งเน้นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เป็นสะพาน เพื่อกำหนดรูปแบบการเดินทางตามวัฒนธรรม โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการช่วยยกระดับประสบการณ์อันน่าประทับใจของนักท่องเที่ยวและสร้างความสะดวกสบายในการรับบริการด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง อันจะสามารถสนองตอบต่อความต้องการด้านการท่องเที่ยวของผู้คนได้มากขึ้น
 
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.xinhuanet.com/fortune/2021-03/31/c_1127278912.htm