bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันศุกร์ที่ ๑๗ ส.ค.๖๑ : แนวคิดในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของมณฑลยูนนานกับประเทศ

แนวคิดในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของมณฑลยูนนานกับประเทศตามรายงาน เพื่อสนับสนุนกิจกรรมตามโครงการความริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” หรือ BRI (Belt and Road Initiative) และสนับสนุนจุดยืนของจีนบนเวทีโลก ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. มณฑลยูนนานมีที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้ใช้ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับประเทศตามรายทางของ BRI อย่างต่อเนื่อง ร่วมกันผลักดันการพัฒนาของกิจกรรมทางวัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็จัดฝึกอบรมบุคลากรประเภทต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนา BRI
        ๑.๑ สถานีวิทยุโทรทัศน์มณฑลยูนนาน ช่องนานาชาติได้แพร่ภาพผลงานภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยมของจีน ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย เวียดนาม ลาว พม่าและกัมพูชา โดยฐานการแปลภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ภูมิภาคแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง
        ๑.๒ ศาสตรจารย์จาง ชางซัน รองเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์มหาวิทยาลัยยูนนาน ได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยยูนนานซึ่งตั้งอยู่ในส่วนสำคัญของการพัฒนา BRI และตลอดระยะเวลา ๕ ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่เริ่ม BRI เมื่อปี ๒๐๑๓ (พ.ศ.๒๕๕๖) มหาวิทยาลัยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาหลายประเทศของแนวทางก่อสร้างเวทีวิจัยวิทยาศาสตร์ของ BRI ได้ดำเนินการวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดฝึกอบรมบุคลากรที่เป็นที่ต้องการในการพัฒนา BRI โดยปัจจุบัน มณฑลยูนนานยังกลายเป็นตัวเลือกอันดับแรกของการมาศึกษาต่อและฝึกอบรมวิชาชีพต่างๆ ของนักเรียนจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาในมณฑลยูนนานเกือบทั้งหมดได้ร่วมมือกับสถาบันศึกษาของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศเอเชียใต้อย่างดี ซึ่งในจำนวนนักเรียนต่างชาติในมณฑลยูนนานจำนวนกว่า ๓๐,๐๐๐ คน เป็นนักเรียนจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศเอเชียใต้มากกว่าร้อยละ ๘๐
        ๑.๓ ในทุกวันที่ ๑๒ ส.ค.ของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมวันช้างโลกในสวนช้างป่า เขตทิวทัศน์หุบเขาช้างป่า ซึ่งเป็นพื้นที่เขตชนเผ่าไตสิบสองปันนา มณฑลยูนนานของจีน โดยมีกิจกรรมการเดินพาเหรดช้าง จัดงานเลี้ยงขนาดใหญ่สำหรับวันเกิดของช้าง และการทำความสะอาดที่พักของช้าง เป็นต้น ทั้งนี้ มณฑลยูนนานได้จัดงานวันช้างโลกขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ ส.ค.๕๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ช้างแอฟริกาและช้างเอเชีย รวมทั้งต่อต้านการค้างาช้างและการล่าช้างโดยผิดกฎหมาย

๒. มณฑลยูนนานได้ความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับช้าง ดังกรณีที่เมืองหมาง ซึ่งขึ้นอยู่กับจังหวัดเต๋อหง มณฑลยูนนาน ตั้งอยู่ทางทิศภาคตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนาน โดยมีชนเผ่าไตเป็นชนเผ่าหลักของที่นี่ หากเดินตามท้องถนนของเมืองหมาง จะเห็นรูปปั้นช้าง สิ่งทอรูปช้าง ภาพฝาผนังรูปช้าง เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ สำหรับชนเผ่าไต ช้างมีเสียงพ้องกันกับคำว่าสิริมงคล รวมทั้งลักษณะที่แตกต่างกันของช้างจะมีความหมายที่แตกต่างกัน เช่น งวงช้างยกขึ้นข้างบนหมายถึงความยินดีต้อนรับแขก งวงช้างห้อยลงจะหมายถึงความสมานฉันท์และสันติภาพ งวงช้างม้วนเข้าข้างในก็หมายถึงต้อนรับเงิน เป็นต้น

บทสรุป

กิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของมณฑลยูนนานดังกล่าว นอกจากจะเผยแพร่ชื่อเสียงของออกสู่โลกภายนอกแล้ว ยังช่วยสร้างบรรยากาศทางวัฒนธรรมให้แก่มณฑลยูนนาน ในการเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่สู่ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศเอเชียใต้ อันสนับสนุนต่อการดำเนินโครงการความริเริ่ม "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" หรือ BRI และเมื่อปี ๒๐๑๖ (พ.ศ.๒๕๕๙) ที่ผ่านมา สำนักงานของคณะรัฐมนตรีจีนได้ออกประกาศหนังสือเวียนเรียกร้องให้หยุดกิจกรรมแปรรูปและจำหน่ายงวงช้างและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ อย่างทั่วด้านก่อนวันที่ ๓๑ ธ.ค.๖๐ ซึ่งทำให้จีนได้หยุดนำเข้าผลิตภัณฑ์งวงช้างแกะสลัก โดยเฉพาะงวงช้างที่ได้จากการล่าสัตว์ ตลอดจนงวงช้างและผลิตภัณฑ์จากงวงช้างที่ได้มาก่อนเข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์หรือ CITES ตามลำดับ เพื่อแสดงจุดยืนของจีนที่มีความรับผิดชอบในการอนุรักษ์ช้าง โดยสอดรับกับมาตรการสนับสนุนในการอนุรักษ์ช้าง และจีนหวังว่า จะมีองค์การระหว่างประเทศเข้าร่วมในการอนุรักษ์ช้างมากขึ้น อันเป็นการสนับสนุนต่อจุดยืนของจีนบนเวทีโลก

ประมวลโดย : พันเอกไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์

https://www.chinadailyhk.com/articles/45/166/182/1528977344235.html

http://thai.cri.cn/247/2018/08/15/121s270029.htm

http://thai.cri.cn/247/2018/08/14/230s270012.htm

http://thai.cri.cn/247/2017/01/04/228s249592.htm

http://thai.cri.cn/247/2016/10/24/121s247238.htm

http://thai.cri.cn/247/2017/08/13/225s256852.htm

https://www.discoverchinatours.com/travel-guide/xishuangbanna/activities.html