bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันศุกร์ที่ ๒๔ ก.ค.๖๓ ความเคลื่อนไหวทวิภาคีที่สำคัญระหว่างจีน-กัมพูชา (中国-柬埔寨) และจีน-เวียดนาม (中国-越南)

จีนศึกษา (วันศุกร์ที่ ๒๔ ก.ค.๖๓) ขอนำเสนอข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทวิภาคีที่สำคัญระหว่างจีน-กัมพูชา (中国-柬埔寨) และจีน-เวียดนาม (中国-越南) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. ความเคลื่อนไหวระหว่างจีน-กัมพูชา เมื่อวันที่ ๒๑ ก.ค.๖๓ นายวัง เหวินปิน (汪文斌) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน (中国外交部发言人) กล่าวในงานแถลงข่าวว่า การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างจีนกับกัมพูชา (中国-柬埔寨自由贸易协定谈判) ที่ได้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ ๒๐ ก.ค.๖๓ มีความครอบคลุมความร่วมมือภายใต้ข้อริเริ่ม“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (一带一路 / Belt and Road Initiative : BRI) รวมทั้งการค้าสินค้า การค้าภาคบริการ ความร่วมมือด้านการลงทุน ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันอย่างราบรื่น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นกันทางการเมืองและพื้นฐานความร่วมมือที่ลุ่มลึกของสองประเทศ การเปิดการค้าทวิภาคีและส่งเสริมการลงทุนมากขึ้น จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่แท้จริงและโอกาสการพัฒนาให้ประชาชนสองประเทศ ทั้งนี้ จีนกับกัมพูชามีจุดยืนที่สนับสนุนการค้าเสรีและแนวคิดพหุภาคี ต่อต้านแนวคิดอนุรักษ์นิยมและปัจเจกนิยมมาโดยตลอด

๒. ความเคลื่อนไหวระหว่างจีน-เวียดนาม เมื่อวันที่  ๒๑ ก.ค.๖๓ ได้มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินการความร่วมมือทวิภาคีจีน-เวียดนาม ครั้งที่ ๑๒ (中越双边合作指导委员会举行第十二次会议) ที่กรุงปักกิ่ง โดยนายหวัง อี้ (王毅 ) มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (国务委员兼外长) ของจีน กับนาย Pham Binh Minh รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม (越南副总理兼外长) ร่วมเป็นประธานการประชุมฯ
     ๒.๑ นายหวัง อี้ กล่าวเน้นว่า ตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-๑๙ เป็นต้นมา จีน-เวียดนามทั้งสองฝ่ายได้แสดงความชื่นชมต่อความสำเร็จในการควบคุมโควิด-๑๙ ส่วนการค้าสองประเทศในครึ่งแรกปีนี้ขยายตัวกว่า ๑๘%  แสดงว่าความร่วมมือทวิภาคียังมีโอกาสอีกมาก
     ๒.๒ ด้านนาย Pham Binh Minh กล่าวเน้นว่า เวียดนามจะจัดความสัมพันธ์กับจีนไว้ในภารกิจอันดับต้นๆ ของการต่างประเทศเวียดนาม จะมีความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมต่ออนาคตของความสัมพันธ์เวียดนาม-จีน

๓. ข้อสังเกตต่อความเคลื่อนไหวดังกล่าว
     ๓.๑ ความคืบหน้าที่สำคัญในการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างจีน-กัมพูชา โดยจีนและกัมพูชาได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการให้การสนับสนุนการค้าเสรีและพหุภาคี (中柬两国一贯支持自由贸易和多边主义) รวมทั้งต่อต้านการปกป้องและการดำเนินการฝ่ายเดียว ซึ่งภายหลังจากการลงนามอย่างเป็นทางการของข้อตกลงนี้ จะทำให้เกิดแรงผลักดันใหม่ทางด้านเศรษฐกิจเข้าสู่การร่วมสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพสูง ภายใต้ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” หรือ “สายแถบและเส้นทาง” (BRI) ระหว่างทั้งสองประเทศและสร้างชุมชนจีน-กัมพูชาที่มีอนาคตร่วมกัน (构建中柬命运共同体)
     ๓.๒ ความคืบหน้าที่สำคัญในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการความร่วมมือทวิภาคีจีน-เวียดนาม ครั้งที่ ๑๒ ได้แก่ การที่จีนและเวียดนามได้ตกลงกันในประเด็นทะเลจีนใต้ (南海问题上) เพื่อยืนยันในการจัดการและควบคุมความแตกต่างผ่านการเจรจาและการปรึกษาหารือล่วงหน้าเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (南海行为准则) โดยจะร่วมกันรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลจีนใต้ (共同维护南海和平稳) และส่งเสริมความร่วมมือทางทะเลและการพัฒนาร่วมกัน (推动海上合作和共同发展)

บทสรุป

ความเคลื่อนไหวทวิภาคีที่สำคัญระหว่างจีน-กัมพูชา และระหว่างจีน-เวียดนาม ด้วยการเจรจาหารือ อันจะนำมาซึ่งแนวทางในการพัฒนาร่วมกันโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ ที่จะส่งผลต่อความร่วมมือกันในด้านความมั่นคงโดยการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคร่วมกัน

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์ 

http://www.xinhuanet.com/world/2020-07/21/c_1126268048.htm

http://obor.sh-itc.net/article/zixunnew/xwfbnew/202007/1498730_1.html

https://www.yicai.com/news/100706465.html

http://www.gov.cn/guowuyuan/2020-07/21/content_5528872.htm

http://www.xinhuanet.com/2020-07/21/c_1126268052.htm

http://www.mod.gov.cn/topnews/2020-07/20/content_4868430.htm

https://www.kwongwah.com.my/20200722/