bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันอังคารที่ ๒๖ ก.พ.๖๒ : ข้อเสนอที่จะเป็นผลประโยชน์ร่วมระหว่างจีนกับสหรัฐฯ

ข้อเสนอที่จะเป็นผลประโยชน์ร่วมระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. เมื่อเช้าวันที่ ๒๑ ก.พ.๖๒ นายหลิว เฮ่อ ทูตพิเศษของนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน กรรมการประจำกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน รองนายกรัฐมนตรีจีน เป็นหัวหน้านำคณะผู้แทนจีนเข้าร่วมการประชุมหารือทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้านระหว่างจีน-สหรัฐฯ ร่วมกับนายโรเบิร์ต ไลท์ธิเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ และนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ซึ่งร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดประชุมหารือระดับสูงว่าด้วยเศรษฐกิจการค้าจีน-สหรัฐฯ ครั้งที่ ๗ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๒ ก.พ.๖๒

๒. ผลการเจรจาเศรษฐกิจการค้าระดับสูงระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ดังกล่าวได้มีความคืบหน้าในประเด็นต่าง ๆ เช่น การสร้างดุลการค้าในภาคเกษตร การถ่ายโอนเทคโนโลยี การคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา และการบริการทางการเงิน โดยในประเด็นเกี่ยวกับการเพิ่มการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญานั้น จีน-สหรัฐฯ มีความเห็นชอบร่วมกันมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาเป็น “ความต้องการที่ไม่ยืดหยุ่น” (Inelastic Demand) สำหรับประเทศใดก็ตามที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม จีนกับสหรัฐในฐานะประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็น ๒ อันดับแรกของโลก มีผลประโยชน์ร่วมกันในเรื่องนี้อย่างน้อย ๓ จุดอันได้แก่
        ๒.๑ การเพิ่มกำลังการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น จากการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิ่งที่ทั้งสองประเทศเรียกร้อง ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นมหาประเทศที่เข้มแข็งอันดับหนึ่งของโลกด้านความคิดสร้างสรรค์ มีระบบกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่สมบูรณ์และเข้มงวด จึงเป็นตัวอย่างสำหรับจีน โดยปี ๒๐๑๗ (พ.ศ.๒๕๖๐) จีนชำระบัญชีรายจ่ายด้านการใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาแก่สหรัฐเป็นเงินจำนวน ๗,๑๓๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เบื้องหน้าการปฏิวัติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรอบใหม่ สหรัฐฯ มีความได้เปรียบในขณะเดียวกันก็มีความกังวล ที่จะต้องการรักษาการเป็นผู้นำด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วยการเพิ่มการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา และบุกตลาดมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง ประเด็นเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาจึงจัดอยู่ในบัญชีผลการเจรจาจีน-สหรัฐฯ มาหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเป็นประเด็นสำคัญของการเจรจาเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
        ๒.๒ จากระบบเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ การคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาเป็น “สิ่งจำเป็น” (suitable) และเป็นสิ่งที่สหรัฐฯ ร้องเรียนกับคู่ค้าทุกราย ซึ่งรวมถึงจีนด้วย ก็คือเรื่องการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาให้มากขึ้น ข้อร้องเรียนดังกล่าว จีนได้ดำเนินการมาตั้งแต่แรก และกำลังดำเนินการอยู่ เมื่อสหรัฐหยิบยกขึ้นมาอีก ก็เป็นผลดีต่อการเดินหน้าและยกระดับเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น
        ๒.๓ ความสัมพันธ์เศรษฐกิจการค้าจีน-สหรัฐฯ ก็ควรคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของกันและกันให้มากขึ้น การที่สหรัฐฯ ร้องเรียนจีนให้คุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญหาให้มากขึ้น ก็เป็นเรื่องที่ตรงกับทิศทางการปฏิรูปและเปิดเสรีของจีน และรัฐบาลจีนก็ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญหาอย่างมากมาโดยตลอด

บทสรุป

ผลการเจรจาเศรษฐกิจการค้าระดับสูงระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ๗ รอบที่ผ่านไป ถือได้ว่ามีความก้าวหน้ามากขึ้นเป็นลำดับ โดยทั้งสองฝ่ายได้บรรลุความเห็นพ้องต้องกันในเชิงหลักการเกี่ยวกับปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะข้อเสนอที่จะเป็นผลประโยชน์ร่วมระหว่างจีนกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งหากจีนกับสหรัฐฯสามารถบรรลุข้อตกลงได้ จะนำผลประโยชน์มาให้แก่ทั่วโลกได้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องใช้ความพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว แม้ว่าจะยังมีข้อจำกัดทางธุรกิจการค้าที่ต้องการการเจรจาต่อไปก็ตาม แต่การเจรจาของทั้งสองฝ่ายถือเป็นเรื่องดีที่จะนำไปสู่วิถีทางการแก้ปัญหาต่อไป

ประมวลโดย : พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์

https://www.daytondailynews.com/business/and-china-extend-trade-talks-trump-meeting-may-follow/w1OPosIqIch4M74TdFtIPI/

http://thai.cri.cn/20190222/677e91cf-66fc-a703-da96-f6ceb5611ecc.html

http://thai.cri.cn/20190224/f2b1dab9-167a-ed6c-de87-49bdcc9d46d9.html 

http://thai.cri.cn/20190217/8e924cd9-4a24-1bd6-25c5-d8b050a42e42.html 

http://thai.cri.cn/20190223/e1f23e5a-1210-a270-7da6-32cc75e0d307.html