bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันเสาร์ที่ ๑๕ ส.ค.๖๓ : โครงร่างการวางแผนรถไฟที่มีประสิทธิภาพในยุคใหม่ของจีน โดยเฉพาะการมุ่งเน้นไปที่ "๓ เครือข่าย + ระบบศูนย์กลางที่ทันสมัย" (“3张网+现代枢纽体系”) เพื่อสร้างเครือข่ายสิ่งอำนวยความสะดวกทางรถไฟระดับโลก

ขอนำเสนอข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงร่างการวางแผนรถไฟที่มีประสิทธิภาพในยุคใหม่ของจีน โดยเฉพาะการมุ่งเน้นไปที่ "๓ เครือข่าย + ระบบศูนย์กลางที่ทันสมัย" (“3张网+现代枢纽体系”) เพื่อสร้างเครือข่ายสิ่งอำนวยความสะดวกทางรถไฟระดับโลก ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. การกำหนดเป้าหมาย โดยภายในปี ๒๐๓๕ (พ.ศ.๒๕๗๘) จีนจะมีเครือข่ายรถไฟแห่งชาติเป็นระยะทางประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร รวมถึงรถไฟความเร็วสูงประมาณ ๗๐,๐๐๐ กิโลเมตร โดยเฉพาะเมืองที่มีประชากรมากกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คน จะได้รับการครอบคลุมให้สามารถเข้าถึงการเดินทางได้ด้วยทางรถไฟ และเมืองที่มีประชากรมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คน จะสามารถเข้าถึงการเดินทางได้ด้วยรถไฟความเร็วสูง ตามวงเวียนของการเดินรถไฟภายในระยะเวลา ๑, ๒ และ ๓ ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นรถไฟความเร็วสูงอัจฉริยะแห่งแรกที่สร้างขึ้นโดย China National Railway Group Co. , Ltd. ที่เพิ่งจะประกาศ "โครงร่างของการวางแผนทางรถไฟที่มีประสิทธิภาพในยุคใหม่" (“新时代交通强国铁路先行规划纲要”) ซึ่งกำหนดเป้าหมายการพัฒนาและภารกิจหลักสำหรับ China Railways ภายในปี ๒๐๓๕ (พ.ศ.๒๕๗๘) และภายในปี ๒๐๕๐ (พ.ศ.๒๕๙๓)
 
๒. การดำเนินการตามพิมพ์เขียวสำหรับการพัฒนาเส้นทางรถไฟ (铁路发展蓝图) ของจีนในระยะเวลา ๑๕ ปี
     ๒.๑ เหลียง ตง (梁栋) รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนของ China Railway Economic Planning Research Institute Co. , Ltd. (中国铁路经济规划研究院有限公司规划所副所长) กล่าวเน้นย้ำว่า หลังจากหลายปีแห่งการพัฒนา จีนได้กลายเป็นประเทศที่มีระยะทางปฏิบัติการรถไฟความเร็วสูงที่ยาวที่สุดซึ่งเป็นขนาดที่ใหญ่ที่สุดที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างมีรถไฟความเร็วสูงจำนวนมากที่สุด ความเร็วในการดำเนินการเชิงพาณิชย์สูงสุด ระบบเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงที่สมบูรณ์แบบที่สุด และสถานการณ์การดำเนินงานและประสบการณ์การบริหารจัดการที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก อันกลายเป็นพลังทางรถไฟที่แท้จริง โดยเฉพาะภายในปี ๒๐๓๕ (พ.ศ.๒๕๗๘) เมืองที่มีประชากรมากกว่า ๕๐๐,๐๐ คน จะสามารถเข้าถึงได้ด้วยรถไฟความเร็วสูง
     ๒.๒ จากข้อมูลทางสถิติได้แสดงให้เห็นว่า ความครอบคลุมของเครือข่ายรถไฟของจีนในเมืองที่มีประชากรมากกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คน เพิ่มขึ้นจาก ๙๔% ในปี ๒๐๑๒ (พ.ศ.๒๕๕๕) เป็น ๙๘% ในปี ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๖๒) และความครอบคลุมของเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงในเมืองที่มีประชากรมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คน เพิ่มขึ้นจาก ๒๘% ในปี ๒๐๑๒ (พ.ศ.๒๕๕๕) เป็น ๘๖% ในปี ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๖๒) โดยฮ่องกงได้เข้าสู่เครือข่ายรถไฟความเร็วสูงแห่งชาติ รวมทั้งเมืองเอกในระดับมณฑลทุกแห่งยกเว้นลาซา (ซึ่งเมืองเอกของเขตปกครองตนเองทิเบต) ขณะที่รถไฟความเร็วสูงจากกรุงปักกิ่ง - มหานครเทียนจิน – มณฑลเหอเป่ย รวมถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี สามารถเดินทางได้ภายใน ๒ ชั่วโมง นอกจากนี้ การเดินทางจากกรุงปักกิ่ง มหานครเซี่ยงไฮ้ และเมืองใหญ่อื่น ๆ ในระยะ ๑,๐๐๐ กิโลเมตร จะใช้เวลาเดินทางภายใน ๔ ชั่วโมง และในระยะทาง ๒,๐๐๐ กิโลเมตร จะใช้เวลาเดินทางภายใน ๘ ชั่วโมงเท่านั้น
     ๒.๓ ข้อมูลล่าสุด เมื่อสิ้นเดือน ก.ค.๖๓ จีนมีระยะทางในการเดินรถไฟจำนวน ๑๔๑,๔๐๐ กิโลเมตร ซึ่งยาวเป็นอันดับสองของโลก โดยเป็นระยะทางรถไฟความเร็วสูงจำนวน ๓๖,๐๐๐ กิโลเมตร ซึ่งเป็นอันดับที่หนึ่งของโลก ทั้งนี้  "โครงร่างการวางแผน" (“规划纲要”) ได้เสนอว่าภายในปี ๒๐๓๕ (พ.ศ.๒๕๗๘) เครือข่ายรถไฟที่ทันสมัยของจีนจะเป็นเครือข่ายแรกที่สร้างขึ้นโดยการตระหนักถึงการเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟทั้งภายในและต่างประเทศ มีการเชื่อมถนนหลายเส้นทางระหว่างภูมิภาค มีการเชื่อมต่อเมืองหลวงของมณฑลต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ มีการเข้าถึงเมืองและมณฑลอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการครอบคลุมพื้นที่ขั้นพื้นฐานของมณฑล รวมทั้งการเชื่อมต่อของศูนย์กลางต่างๆ โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายดังกล่าว จะมีการยกระดับด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีประสิทธิภาพ
 
๓. ความคาดหวังของ China National Railway Group ที่ได้มุ่งเน้นไปที่ "๓ เครือข่าย + ระบบศูนย์กลางที่ทันสมัย" (“3张网+现代枢纽体系”) เพื่อสร้างเครือข่ายสิ่งอำนวยความสะดวกทางรถไฟระดับโลก กล่าวคือ  
     ๓.๑ เป็นการสร้างเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โดยตระหนักถึงการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองหลวงในมณฑลและเมืองที่มีประชากรมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คน โดยทั่วไปจะตระหนักถึงวงกลมรถไฟความเร็วสูงสามชั่วโมงระหว่างเมืองหลวงในภูมิภาคใกล้เคียงและพัฒนาทางรถไฟความเร็วสูงที่มีมาตรฐานความเร็วสูงขึ้น  
     ๓.๒ เป็นการสร้างเครือข่ายรถไฟความเร็วทั่วไปที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง โดยสร้างเครือข่ายรถไฟทั่วไปในภูมิภาคเพื่อเชื่อมต่อและกระจายการเชื่อมต่อเมืองที่มีประชากรมากกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คน พื้นที่ที่อุดมไปด้วยทรัพยากร ศูนย์กระจายสินค้าหลัก และท่าเรือที่สำคัญ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่การปกครองระดับมณฑล  
     ๓.๓ เป็นการพัฒนาเครือข่ายรถไฟระหว่างเมือง (รวมถึงชานเมือง) ที่รวดเร็วและบูรณาการ โดยเฉพาะในพื้นที่ของเมืองที่พัฒนาทางเศรษฐกิจและมีประชากรหนาแน่น ซึ่งให้จัดทำแผนโดยรวมสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟระหว่างเมืองและในเมือง (รวมถึงชานเมือง) "เพื่อการเข้าถึงพื้นที่เมืองสำคัญ (รวมถึงชานเมือง) ภายในเวลาหนึ่งชั่วโมง เช่น การเดินทางระหว่างกรุงปักกิ่ง - มหานครเทียนจิน – มณฑลเหอเป่ย เป็นต้น  
     ๓.๔ เป็นการสร้างศูนย์กลางที่ทันสมัยแบบครบวงจร โดยจะมีการสร้างศูนย์กลางการขนส่งผู้โดยสารที่ครอบคลุมพื้นที่จำนวนหนึ่ง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสาร เพื่อส่งเสริมการรวมเครือข่าย ๔ สายทางที่มีประสิทธิภาพ อันได้แก่ (๑) ทางรถไฟระหว่างเมือง (๒) ทางรถไฟชานเมือง (๓) ทางรถไฟในเมือง และ (๔) ทางรถไฟที่เชื่อมต่อระหว่างสนามบิน
 
บทสรุป

ประเด็นที่เป็นจุดเด่นใน "โครงร่างการวางแผน" (“规划纲要”) ดังกล่าวคือ การเสนอให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบควบคุมรถไฟอัจฉริยะใหม่ (新型智能列控系统) โดยใช้เทคโนโลยีการนำทางด้วยดาวเทียมเป่ยโต่ว (北斗卫星) และเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G (5G通信技术)  ฯลฯ เพื่อสร้างระบบควบคุมรถไฟจากภาคอากาศสู่ภาคพื้นดินแบบบูรณาการ ซึ่งจำเป็นต้องมีนวัตกรรมจากการคิดค้นและสร้างชุดระบบเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับรถไฟความเร็วสูงด้วยความเร็ว ๔๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป (自主创新建立时速400公里及以上高速铁路技术标准)
 
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์ 

http://stock.jrj.com.cn/2020/08/13205330493601.shtml

http://opinion.caixin.com/2020-08-14/101592774.html 

https://newcastle.chinesetoday.cn/content-102033565034016

http://www.dzwww.com/xinwen/guoneixinwen/202008/t20200813_6408926.htm 

https://www.backchina.com/news/2020/08/14/704004.html )